วช. ร่วมสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ร่วมทดสอบแพลตฟอร์ม AI เที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แนวใหม่ จังหวัดระนอง และ จังหวัดชุมพร
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (สปปท.) จัดกิจกรรมการทดสอบแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์บนเส้นทางท่องเที่ยวศุทรา ภายใต้โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์สู่จักรวาลนฤมิตร (AI-MHT) เพื่อประเมินผลการใช้งานแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ เกมออนไลน์ และทดสอบต้นแบบเส้นทางการท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์บริเวณพื้นที่เส้นทางข้ามคาบสมุทรจังหวัดระนอง และ จังหวัดชุมพร โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึงแนวทางสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ สำหรับการท่องเที่ยว
พร้อมด้วย ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ อุปนายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เกตุ้ย หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวชี้แจงกิจกรรมและกล่าวต้อนรับ และมี นายธนกร บริสุทธิญาณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง นายสมโชค วงศ์วิวัฒนา ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดระนอง ว่าที่ร้อยตรี กฤษฎา ฉิมพลีวัฒน์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนระนอง นายสุนทร เตชิน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านในวงเหนือ และคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ณ บ้านในวง ตำบลบ้านในวงเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสุวรรณภูมิ เข้าสู่จักรวาลนฤมิตร เป็นหนึ่งในโครงการวิจัย ที่ทาง วช. สนับสนุนในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน มาศึกษาวิจัยเพื่อใช้พัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวพื้นที่สุวรรณภูมิ บริเวณจังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง โดยนำข้อมูลประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ (ภายใต้เครือข่ายธัชชา) มาบูรณาการร่วมกับดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในด้านการท่องเที่ยว ด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เกตุ้ย หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสุวรรณภูมิ เข้าสู่จักรวาลนฤมิตร ได้รับความร่วมมือจาก 6 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดทำและรวบรวมประวัติศาสตร์ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลในดินแดนประวัติศาสตร์จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง เพื่อนำข้อมูลมาสร้างกราฟองค์ความรู้ที่เรียกว่าวิกิพีเดีย ร่วมไปถึงการสร้างระบบโต้ตอบอัตโนมัติ ที่เรียกว่าแซทบอท การสร้างระบบหาความเหมือนความคล้ายของข้อมูลประวัติศาสตร์ และการพัฒนาเกมออนไลน์เพื่อให้เยาวชนสามารถเข้าถึงข้อมูลประวัติศาสตร์ได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้สามารถนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ให้เกิดความสร้างสรรค์ในพื้นที่จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง
Post a Comment