การประกาศผลรางวัลโครงการประกวดแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps  เพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา 

 การประกาศผลรางวัลโครงการประกวดแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps  เพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา 




มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ร่วมกับ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จัดการประกาศผลรางวัลโครงการประกวดแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)  ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps เพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00-12.30 น. ณ หอประชุมเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) อาคาร 7 ชั้น 14-15 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 


โดยโครงการนี้มุ่งส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา จึงสนับสนุนให้มีโครงการประกวดแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps เพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา โครงการนี้ให้ความสำคัญ      ต่อการร่วมกันพัฒนานวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งระบบโรงเรียนผ่านการจัดการเรียนรู้    ตามแนว Active learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps เพื่อให้เกิดผลเชิงประจักษ์          ที่คุณภาพผู้เรียนซึ่งเป็นหัวใจของการประกันคุณภาพภายนอก กระบวนการพัฒนานวัตกรรมของโรงเรียน ได้แก่ การระบุปัญหา การกำหนดเป้าหมาย การพัฒนากระบวนการ ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีการ   ถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้จากการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ทำให้สามารถเผยแพร่และขยายผล       เป็นแรงกระตุ้นโรงเรียนอื่น ๆ ให้นำนวัตกรรมเหล่านั้นไปปรับใช้ยกระดับคุณภาพการศึกษารองรับการประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ตระหนักถึงคุณค่าของการร่วมแรงร่วมใจพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา จึงจัดให้มีพื้นที่ในการแสดงผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จ


รองศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ยิ้มสกุล (รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี) และ      ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ (ประธานกรรมการบริหาร สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) และที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา ของคณะกรรมาธิการการศึกษา การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) ได้ให้แนวคิดในพิธีเปิดงาน ซึ่งท่านเน้นย้ำถึงคุณภาพการจัดการศึกษาที่ประชาชนจะเชื่อมั่น  ต้องสะท้อนจากคุณภาพของนักเรียนซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการเรียนรู้จากการพัฒนาของโรงเรียนอย่างเป็นองค์รวม   ทั้งด้านการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่พลิกโฉมจาก Passive Learning เป็น Active learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps นักเรียนได้เรียนรู้เชื่อมโยงตนเองกับบริบทสังคม ถักทอความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตคติค่านิยมเป็นสมรรถนะ สามารถนำองค์ความรู้ไปสร้างนวัตกรรม ใช้เรียนรู้และแก้ปัญหาในเรื่องอื่น ๆ รวมทั้งมีค่านิยมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การยกย่อง  เชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่ร่วมกันพัฒนาจนเป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) นับเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้สถานศึกษาเป็นผู้นำ เผยแพร่ ช่วยกระตุ้นสถานศึกษาอื่น ๆ ขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการจัด  การเรียนรู้ที่เป็นหัวใจของการจัดการศึกษา 


ผู้ร่วมงานได้รับชมการแสดงของนักเรียนซึ่งเป็นผลจากการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active learning        ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps จำนวน 2 ชุด ได้แก่ 1) อีแซวขับเคลื่อนประวัติศาสตร์ชุมชน :     คนแสวงหา โดยโรงเรียนวัดรัตนาราม 2) Little โขน ตอน “ลักสีดา” โดยโรงเรียนวัดสุนันทารามและชมรมเด็กโขนสระบุรี นอกจากนี้ มีกิจกรรม “เสวนาถอดบทเรียนความสำเร็จจากครูรางวัลระดับเหรียญทอง” กิจกรรมสำคัญของงาน คือ พิธีมอบรางวัลและเกียรติบัตร เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่สถานศึกษาที่ชนะการประกวดทั้งระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ขอขอบคุณผู้บริหารโรงเรียน ครู      และนักเรียน รวมถึงผู้สนใจที่ร่วมชมงานและหวังว่างานนี้จะช่วยให้ประชาชนเชื่อมั่นถึงการจัดการศึกษาของโรงเรียนตามตามแนว Active learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ว่าจะส่งผล            ให้โรงเรียนต่าง ๆ มีคุณภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัดการประกันคุณภาพภายใน ที่รองรับการประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาระดับต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น