15 ผลงานเด่นอาชีวศึกษารับรางวัลติดดาว 2566 Smart Invention & Innovation ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

15 ผลงานเด่นอาชีวศึกษารับรางวัลติดดาว 2566 Smart Invention & Innovation ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบรางวัลติดดาวผลงานเด่นอาชีวศึกษา จำนวน 15 ผลงาน ในกิจกรรมบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพเพื่อการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation ประจำปี 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 ณ โรงแรมลายทอง จ.อุบลราชธานี 

รางวัลติดดาวของทีมอาชีวศึกษาที่มีผลงานและการนำเสนอได้อย่างโดดเด่น เป็นต้นแบบการพัฒนาและการต่อยอดเป็นประดิษฐกรรมและนวัตกรรม สำหรับการส่งเสริมให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานตามทิศทางวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 15 ผลงาน ใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ 
- ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม
1)ผลงานเรื่อง "เครื่องคัดแยกเมล็ดข้าวสารชุมชนแบบหยอดเหรียญ" โดย วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ 
2)ผลงานเรื่อง "เครื่องสับและอบมันสำปะหลังด้วยความร้อนจากเชื้อเพลิงชีวมวล" โดย วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ 
3)ผลงานเรื่อง "เครื่องปอกเปลือกมะพร้าวแก่" โดย วิทยาลัยเทคนิคนางรอง 
- ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
4) ผลงานเรื่อง "HKA เครื่องบริหารและกายภาพบำบัดสะโพก ข้อเข่าและข้อเท้า ระบบกึ่งอัตโนมัติ" โดย วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ 
5) ผลงานเรื่อง "อุปกรณ์ช่วยลงน้ำหนักเท้าสำหรับผู้ป่วยขาหัก" โดย วิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ 
6 )ผลงานเรื่อง "Elderly helper" โดย วิทยาลัยการอาชีพหนองกุงศรี 
-ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ
7) ผลงานเรื่อง "ระบบควบคุมดูแลพืชกึ่งอัตโนมัติในโรงเรือน" โดย วิทยาลัยเทคโนโลยีเอ็น-เทคอินเตอร์ เนชั่นแนล 
8) ผลงานเรื่อง "ระบบตรวจจับปูนาลอกคราบ" โดย วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น 
9) ผลงานเรื่อง "เครื่องให้อาหารปลาลอยน้ำควบคุมด้วยระบบ IoT" โดย วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี
- ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model
10)ผลงานเรื่อง "เครื่องดักแมลงพลังงานโซลาร์เซลล์" โดย วิทยาลัยการอาชีพประโคนชัย 
11)ผลงานเรื่อง "ตู้อบรังไหมด้วยความร้อนจากเชื้อเพลิงชีวมวลระบบไหลเวียนไอร้อนย้อนกลับจากแผ่นเพลเทียร์" โดย วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ 
12)ผลงานเรื่อง "เครื่องผลิตเส้น filament จากขวดพลาสติกเหลือใช้" จาก วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ 
-ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 143ผลงานเรื่อง " ผลิตภัณฑ์ปลาแผ่นเสริมแคลเซียม" จาก วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี 
14)ผลงานเรื่อง "ผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรสผัดกะเพราเห็ด 2 ใจ" จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น 
15)ผลงานเรื่อง "การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางธรรมชาติจากน้ำนมข้าวสารสกัดจากรังไหมสารสกัดจากเปลือกกล้วย" จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด 

พร้อมนี้ คณะผู้ทรงคุณวุฒิของ วช. ที่ร่วมเป็นวิทยากรในการบ่มเพาะบุคลากรสายอาชีวศึกษา ได้ร่วมมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะทุกสถาบันการศึกษา ที่ร่วมเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสมรรถนะในครั้งนี้